วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การวางร่างวางขันธ์

บรรยาย 23-24 กรกฏาคม 2558
บรรยายโดย อ.ใจเพชร กล้าจน

การเตรียมวางขันธ์ (ส่งวิญญาณ) มี 5 ขั้นตอน
1. เรียนรู้การดูแลตัวเองให้มีร่างกายที่แข็งแรง  จิตใจที่ดีงาม  จิตใจที่เป็นสุข  การจะทำสิ่งใด
ได้ดีต้องบำเพ็ญบารมีก่อน (เข้าค่ายสุขภาพ  และค่ายพระไตรปิฎก)  ฝึกจิตของเราให้เป็นผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา จะได้มีปัญญา มีเมตตา มีอุเบกขา
2.  สังเกตอาการของการใกล้วางขันธ์
3.  ลดความทุกข์ทรมานทางกายให้มากที่สุด
4. ประคองสติสู่การวางขันธ์
5.  ประคองสติญาติ

การวางขันธ์โดยทั่วๆ ไป มีปัญหา 3 ประการคือ  ยุ่งยาก  สิ้นเปลือง  ส่งวิญญาณไม่สงบ

ไม่มีเวลาใดที่ไม่ควรเปิดเผยธรรมะ  ธรรมะควรเปิดเผยทุกเวลา

ภารกิจของการวางขันธ์  คือ  ช่วยกันลดความทุกข์ทรมานให้ได้มากที่สุด  ให้เกิดความผาสุกให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

การที่ผู้ป่วยได้รับธรรมะบางประโยค  ได้ซึมซัมธรรมะเข้าไป  จะได้ติดไปในวิญญาณ
เขาบ้าง 

ประคองให้เขาคิดสิ่งที่ดีสิ่งที่เป็นสุข  ถ้าเขาคิดสิ่งที่ดีเขาจะมีพลังขึ้นมาทันที  มีความมั่นใจขึ้นมา (ปิติเพียงเล็กน้อยช่วยเสริมพลัง)
หรือการปล่อยวางบางเรื่องเป็นการสงวนพลังงาน
เอาไว้ (วางขันธ์ให้จิตใจเป็นสุขให้ได้ให้ตัดรอบให้ได้)

ไม่เบียดเบียน  คือ  หยุดชั่ว ทำดี  ทำจิตใจให้ผ่องใส


 2. สังเกตอาการของการใกล้วางขันธ์
ถ้าเห็นผู้ป่วยเริ่มมีแนวโน้มเริ่มส่ออาการ  เราต้องรีบใส่ข้อมูลไมงั้นไม่ทัน  ต้องรีบหารือคนไข้ว่าจะไปโรงพยาบาล  บ้าน  หรือที่ไหน  สังเกตได้จาก 6 อาการ
(1)  ลมหายใจ  หายใจเกิน 20 ครั้ง  หรือ หายใจน้อยกว่า 20 ครั้ง  เสี่ยง
(2) อุณหภูมิร่างกาย  ร้อนมากเย็นมาก
 (3) ชีพจร  เต้นแรงมากๆ แล้วเบาๆ  คือ แรง เบา  แรง  เสี่ยงที่จะเสียชีวิต
(4)  ความดัน  จะสูงแล้วตีกลับเป็นต่ำ
(5) ไม่ปัสสาวะไม่อุจจาระเลย  หรือ ปัสสาวะอุจจาระเลยราดเลย
(6)  ตาลอยๆ  เกร็งๆ  กระตุกๆ


 3. ลดความทุกข์ทรมานทางกายให้มากที่สุด

-คนไข้ส่วนใหญ่เวลาใกล้ตายจะไม่กินข้าวกินนำ้  อย่าไปยัดเยียด  มันจะเสียพลังไปย่อย  จะเอาไปประคองจิตวิญญาณเวลาวางร่างวางขันธ์  รวมถึงการใส่ยาต่างๆ เขเาไปในคนไข้  จะขับออกมาหมดไม่ว่าทางปัสสาวะอุจจาระ

-เวลาคนใกล้ตาย  ใช้ยา 9 เม็ดช่วยได้แต่
อย่ายัดเยียด

- ใช้ยา 9 เม็ดช่วยในผู้ป่วยใกล้ตายมันจะยาก
เพราะมันจะตีกลับไปกลับมา  จะร้อนเย็นพันกัน  อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าใช้สูตรร้อนสูตรเย็นตายตัว  มันจะแปรปรวณจนมองไม่ออก  เช่น คนไข้บอกหนาวแต่ตัวร้อนมาก

-แนวทางรักษา 5 แนวทาง
(1)  ร้อนดับเย็น
(2)  ร้อนดับร้อน  กินเย็นไม่หายกินพริกเข้าไปเหงื่อแตกหายเลย
(3)  เย็นดับร้อน
(4)  เย็นดับเย็น  กินอะไรๆ ก็ไม่หาย เลยไปกระโดดน้ำลงน้ำแข็ง  หายเลย
(5)  ร้อนเย็นพันกัน  ร้อนเย็นผสมกันดับร้อนเย็นพันกัน
-ทดสอบพลังมี 3 แบบ หลักการคือ  วัตถุทุกอย่างแตกตัวและส่งพลังงานออกมาตลอด
เวลา  จิตวิญญาณของเราเป็นพลังอัตโนมัติ  อะไรที่ถูกกัน  จะดูดไปเป็นพลังของเราทันที  จะมีพลังชีวิต ถ้าไม่ถูกกันจะเสียพลังดันออก
จะอ่อนแรง
(1) Oring test
(2)  กดแขน ด้านล่างของศอก
(3)  ดึงแขน  จับเหนือศอก  คนดึงย่อตัวลง
(รายละเอียดดูจากยูทูป)


4. ประคองสติสู่การวางขันธ์
พูดอย่างไรให้ผู้วางขันธ์ได้ประโยชน์
-การวางขันธ์มีปัญหา 5 ประเด็น
(1)  เค้าจะต้องทรมาน
(2)  คนเฝ้าก็ต้องทรมาน
(3)  เจ้าหน้าที่ก็ทรมาน
(4)  ใช้อุปกรณ์ค่าใช้จ่ายเปลืองโดยที่ไม่มีประโยชน์
ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
(5) ถ้าผู้ป่วยไม่เต็มใจวางขันธ์จะดิ้นอย่างแรง

  ดังนั้น  หน้าที่เราก็คือให้สติให้ธรรมะ
ต้องรู้ว่าคนส่วนใหญ่ติดยึดอะไร  เมื่อเรารู้เราก็คลายไปทีละปมๆ

ประเด็นที่พูดจะพูดครบหรือไม่ครบก็ได้  แล้วแต่สถานการณ์ ดูหัวข้อจากหนังสือวางร่างวางขันธ์

ให้สติให้ธรรมะ
1)  การทำใจให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย
และจิตใจซึ่งจะทำให้ฟื้นก็ฟื้นได้ดี  จะเสื่อมก็เสื่อม
ได้ดี
-เมื่อทีมหมอและญาติได้พยายามเต็มที่แล้ว
ดีที่สุดแล้ว  ให้ทำใจว่า

***ถ้าร่างกายนี้จะฟื้นก็ให้ฟื้นอย่างดี  จะเสื่อมก็ให้เสื่อมอย่างดี

***การตั้งอยู่ หรือการเสื่อมไปก็ไม่ใช่เรื่องแปลก  เป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกชีวิต

-ที่บอกไปเอาไปใช้เท่าที่ทำได้นะ 

-ยึดไปก็ทุกข์วางดีกว่า

***อย่าเร่งว่ามันต้องเสื่อมไป อย่าฝืนว่ามันต้อง
ตั้งอยู่  ปล่อยให้มันเป็นอย่างที่มันเป็น


***ถ้ามันตั้งอยู่ก็ให้มันตั้งอยู่  ถ้ามันเสื่อมไป
ก็ให้มันเสิ่อมไป  มันเป็นความจริงของชีวิต  ไม่ต้องห่วงอะไร  ไม่ต้องกังวลอะไร

-การเสื่อมไป  การตั้งอยู่  ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว  ไม่น่าแปลก  เปลี่ยนจากร่างเดิมไปร่างใหม่ที่ดีขึ้น

-สิ่งที่ดีที่สุดคือได้พบธรรมะได้พบความดี  ได้ทำความดี  พบครดี  ลดกิเลส  ลดความทรมาน

-ชีวิตต้องพลัดพราก  ไม่มีชีวิตใดที่จะไม่พรัดพราก  ต้องพรากจากกันทุกคน  แม้แต่ (ผม/ฉัน) สักวันก็ต้องพรากจากกันเช่นเดียวกัน

-ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร ทุกอย่างก็ต้องจากไป  ทุกอยางเกิดๆ ดับๆ อย่างนี้

*** คำพูดที่ควรพูดซ้ำๆ บ่อยๆ 
ให้พึงสังเกตว่าในระหว่างที่พูดผู้ป่วยมีสีหน้าอย่างไร  ถ้าผู้ป่วยมีอาการต้านหรือไม่สบายใจที่จะฟังต่อ  ก็ให้หยุดพูดก่อน***


 ต้องรู้ว่าคนส่วนใหญ่ติดยึดอะไร  เมื่อเรารู้เราก็คลายไปทีละปมๆ

-มีกรรมดีกรรมชั่วเท่านั้นที่เป็นสมบัติแท้
ที่จะติดตัวไปใช้ในภพชาติหน้า

***ให้ระลึกถึงสิ่งที่ดี  ทำใจให้ดีที่สุด  สงบที่สุด  ค่อยๆ ผ่อนไปเหมือนเทียน

-ตั้งสติให้ดี  ทำใจให้สงบ

***ถ้ามันตั้งอยู่ก็ให้มันตั้งอยู่  ถ้ามันเสื่อมไป
ก็ให้มันเสิ่อมไป  มันเป็นความจริงของชีวิต  ไม่ต้องห่วงอะไร  ไม่ต้องกังวลอะไร

***อย่าเร่งว่ามันต้องเสื่อมไป อย่าฝืนว่ามันต้อง
ตั้งอยู่  ปล่อยให้มันเป็นอย่างที่มันเป็น

-ไม่ต้องห่วงญาติพี่น้อง  ลูกหลานก็โตแล้ว  ดูแลตัวเองได้แล้ว

-(ผู้ป่วย)  ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดแล้ว  ภารกิจของ  (ผู้ป่วย) ได้ทำเต็มที่แล้ว ได้ช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่แล้ว 

-ไม่ต้องห่วงบ้าน  การงาน  ลูกหลานก็จะช่วยดูแลกิจการต่อเนื่องไป

-ตั้งจิตอยู่ในความดี  ตั้งในความสงบ  จิตใจที่ดีงามจะพาเราไปสู่จิตที่ดีงามจิตที่ผาสุก

***จะฟื้นก็ฟื้นดีที่สุด  จะเสื่อมก็เสื่อมดีที่สุด

-วางร่างวางขันธ์ก็ไปเกิดใหม่  ไปทำความดีใหม่  ทำความดีต่อไป ถ้าอยู่ก็ทำหน้าที่ต่อไป

-มีแต่ความดีเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งแท้จองชีวิต

 ***ปล่อยวางอย่างที่มันเป็น  จะตั้งอยู่ก็ให้ตั้งอยู่  จะเสื่อมไปก็ให้เสื่อมไป

###ขออโหสิกรรม  ให้บุคคลที่ผู้ป้วยมีเรื่องคาใจกับผู้ป่วย มาขอ
อโหสิกรรมกับผู้ป่วย รวมทั้งญาติพี่น้องลูกหลาน

-เมื่อผู้ป่วยวางขันธ์  ให้ดูนาฬิกาเพื่อบันทึกเวลาด้วย
-หากผู้ป่วยวางขันธ์แล้ว  ให้จัดท่าทางศพให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด  หากตาค้างก็ให้ปิดเปลือกตาด้วย
-โดยปกติจะรอราว 2 ชั่วโมง  ก่อนที่จะนำดำเนินการอื่นๆ ต่อไป

*** คำพูดที่ควรพูดซ้ำๆ บ่อยๆ 
ให้พึงสังเกตว่าในระหว่างที่พูดผู้ป่วยมีสีหน้าอย่างไร  ถ้าผู้ป่วยมีอาการต้านหรือไม่สบายใจที่จะฟังต่อ  ก็ให้หยุดพูดก่อน***


 5. ประคองสติญาติ
-ไม่มีชีวิตไหนที่ไม่ผ่านสถานการณ์นี้  เราต้องผ่าน
บททดสอบนี้ให้ได้
-ผม/ดิฉัน  ขอให้กำลังใจนะครับ/คะ  ขอให้สู้ต่อไป
-คุณได้ทำหน้าที่ของคุณอย่างดีที่สุดแล้ว ( ในฐานะพ่อ  แม่ ลูก พี่  น้อง  ฯลฯ)
-ผู้ป่วยได้พ้นจากความทรมานแล้ว  ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่แต่เขาทรมานมาก คุณจะมีความสุขหรือ  ตอนนี้เขาพ้นจากความทุกข์ทรมานแล้ว  เราน่าจะดีใจนะ  เขาได้พ้นทุกข์ทรมานแล้ว

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธรรมะบรรยาย

บันทึก ถือศีล ดีกว่าถือสา
อ.ใจเพชร กล้าจน(หมอเขียว)
วันที่ 30 มิถุนายน 2558
ให้คนดีกี่กลุ่ม สองกลุ่ม สามกลุ่มก็ตาม
ถ้าเข้าใจผิดกัน ถ้าต่างฝ่ายต่างทำความดี
ไม่มีถือสากัน ทำดีไม่มีถือสา จะตัดสินอะไรก็ตัดสินไปตามนั้น
ได้ข้อมูลอะไรมา จะเข้าใจผิดกัน ไม่ว่า ทำดีไม่มีถือสาเรื่อยๆ ถึงวันนึงมันจะเคลียร์ไปของมันเอง ให้เรียนรู้อจินไตยนี้ จะมีค่ามากเลย ไม่ต้องไปใจร้อนนะ ให้ทำเรื่อยๆ บำเพ็ญไปเรื่อยๆ
เหตุปัจจัยจะร้อยกันได้
ทำไมคนที่ปฏิบัติศีลที่เป็นกุศลจึง ได้ความจริง ความจริงเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้นะ
ใน“กิมัตถิยสูตร” ข้อ 1 พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ว่า
"ศีลอันเป็นกุศล ยังความเป็นอรหัตผล ก็คือสภาพพ้นทุกข์ เป็นลำดับ" ดังนี้
ในอานิสงค์ของศีล 9 ประการ พระไตรปิฏก เล่มที่ 24
ศีลที่เป็นกุศล คือศีลที่สามารรถทำลายกิเลสได้ เป็นศีลที่เป็นกุศลที่ถูกตรงเลย ย่อมถึงอรหัตผล “ อะแปลว่า ไม่ “ หัตตา แปลว่า ตัวตน ตัวตนของทุกข์ ตัวตนของกิเลส ไม่มีตัวตนของกิเลส คือผลของการไม่มีกิเลส
โดยลำดับดังนี้
ข้อที่ 1 อวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)
จากกิเลสตัวนั้นแล้ว
ข้อที่ 2 ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)
ข้อที่ 3 ปีติ (อิ่มใจ)
ข้อที่ 4 ปัสสัทธิ (สงบระงับกิเลส)
ข้อที่ 5 สุข (ความสุขอันเกิดจากกิเลสนั้นตายไป)
ข้อที่ 6 สมาธิ (จิตตั้งมั่น)ในความผาสุกนั้น
ข้อที่ 7 ยถาภูตญาณทัสสนะ
(รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง) ตัวนี้แหละ
เราจะรู้ชัดอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ
โลกียสุข สุขแป๊บเดียวแล้วทุกข์ นำทุกข์มาให้
ไม่มีวันสิ้นสุด สุขน้อยทุกข์มาก นี่คือโลกียสุข
ส่วนโลกุตระสุข เราทำลายกิเลสได้ คือสุขไม่มีทุกข์เจือเลย สุขมากทุกข์น้อย ไม่มีทุกข์เจือเลย กับเราจะเข้าใจความจริงตามความเป็นจริงในเรื่องของกรรม อย่างแจ่มแจ้ง เพราะเราทำดีหรือทำไม่ดี แป๊บเดียวเลย ส่งผลเลย จะส่งผลเร็ว
ข้อที่ 8 นิพพิทาวิราคะ (เบื่อหน่ายคลายกำหนัด)
คลายออกจากกิเลส
ข้อที่ 9 วิมุตติญาณทัสสนะ
(รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น)
เราก็จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้
เหตุการณ์กระแทกอย่างไร กิเลสก็ไม่ออกอาการ
จะกระแทกกี่ทีกิเลสก็ไม่ออกอาการ
เราก็ยังอิ่มเอิบเบิกบานยินดี แจ่มใสได้
เราก็หลุดพ้นได้ นี่แหละตัวเนี้ย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธรรมะที่เกี่ยวกับสุขภาพ



บททบทวนธรรม เพื่อสร้างจิตวิญญาณให้ผาสุกที่สุดในโลก

โดย อาจารย์ ดร. ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)

๑. เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น  เราต้องระลึกรู้ว่า 
    มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา
    แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อย ๆ 
    แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า ในชาตินี้หรือชาติหน้า 
    หรือชาติอื่น ๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนั้นก็จะหมดไปเอง

๒. เราต้องรู้ว่า แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน
     เราจึงควรประมาณการกระทำ
     ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น
     "คิดดี ทำดีไว้ก่อน" ดีที่สุด

๓. การกระทำเดียวกัน มีเหตุผลในการกระทำกว่าล้านเหตุผล
     ต้องระวัง "อคติ หรือความเข้าใจผิด จากการคาดเดาที่ผิดของเรา"

๔. สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา 
     ไม่มีสิ่งได้ที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา

๕. ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง

๖. เมื่อเกิดสิ่งเลยร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ
     ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้น มามากกว่านั้น
     เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น

๗. เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด
     เท่าที่จะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย
     ก่อนที่ทุกสิ่งทุกย่างจะดับไปเท่านั้น

๘. เราทำดี ด้วยการช่วยไม่ให้คนอื่นทำผิดได้ "ก็ช่วย" แล้ววาง
      ให้เป็นไปตามวิบากดีของเขา
     "ช่วยไม่ได้" ก็วาง ให้เป็นไปตามวิบากร้ายของเขา
     เมื่อเขาเห็นทุกข์จนเกินทน จึงจะเห็นธรรม 
     แล้วจะปฏิบัติธรรม สู่ความพ้นทุกข์

๙. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา
     เราเท่านั้นที่ผิดต่อเรา 
     คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น
     และเขาก็ต้องได้รับวิบากร้ายนั้นเอง
     เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่นั้นผิดต่อตัวเอง
     ถ้าเรายังเห็นว่า คนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา
     แสดงว่าเรานั่นแหละผิด 
     อย่าโทษใครในโลกใบนี้
     ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา
     จะไม่มีทางบรรลุธรรม
     นี่คือ คนที่ไม่ยอมรับความจริง
     เพราะไม่เข้าใจเรื่องกรรม อย่างแจ่มแจ้งว่า 
     "ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับ 
      ล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น
      เมื่อรับผลดีร้ายจากการกระทำแล้ว ผลนั้นก็จบดับไป
      และสุดท้ายเมื่อปรินิพพาน 
      ทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป
      ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร
      เพราะสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องดับไป
      จึงไม่ต้องยืด ไม่ต้องทุกข์กับอะไร"

๑๐. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา
      เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส
      คือ ความหลง ชิงชัง รังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา
      และทำให้ล้างวิบากร้ายของเรา

๑๑. หลักการทำดีอย่างมีสุข ๖ ข้อ
      ๑. รู้ว่าอะไรดีที่สุด
      ๒. ปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด
      ๓. ลงมือทำให้ดีที่สุด
      ๔. ยินดีเมื่อได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว
      ๕. ไม่ติดไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ดีที่สุด
      ๖. นั่นแหละคือ สิ่งที่ดีที่สุด

๑๒. ทำดีให้มาก ๆ เพื่อจะได้ให้ดีชิงออกฤทธิ์แทนร้าย
       ที่เราเคยพลาดทำมา ในชาตินี้หรือชาติก่อน ๆ
       จะได้มีดีไว้ใช้ในปัจจุบัน และอนาคต
       ในชาตินี้และชาติอื่น ๆ สืบไป

๑๓. ยึดอาศัย "ดีที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง" นั้น "ดี"
       แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า "ต้องเกิดดีดังใจหมาย
       ทั้ง ๆ ที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น 
       ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง "
        นั้น " ไม่ดี"

๑๔. จงทำดีเต็มที่  เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่ ไม่มีอะไรคาใจ
        ไม่เอาอะไร คือ สุดยอดแห่ง 
        "ความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส"


สาธุ  สาธุ   สาธุ



   ติดตามรับชมได้ที่ลิงค์
 https://www.youtube.com/watch?v=gzLS8vC2144